Virtualization Price : เปรียบเทียบราคาที่ต้องจ่ายระหว่าง Vsphere กับ Proxmox

Jetsada Malaisirirat
2 min readJun 20, 2022

ปัจจุบัน Virtualization คงเป็นคำที่รู้จักกันทั่วไปในวงการคอมพิวเตอร์ ซึ่งตัวที่โด่งดังใช้งานกันแพร่หลายก็คงหนีไม่พ้น VMware vSphere Hypervisor หรือชื่อเดิมก็คือ ESXi นั่นเอง โดย ESXi เริ่มต้นสามารถนำมาติดตั้งใช้งานฟรีได้ แต่จะโดนกั๊กบางอย่างไว้ เช่น

1. ใช้งานได้ 1 CPU ไม่จำกัด core

2. Memory ไม่เกิน 32 GB

3. ใช้ vCenter ควบคุมไม่ได้

ถ้าเป็นเครื่อง 2 CPU หรือ Memory เกิน 32 GB ก็จะต้องขยับไปซื้อ License Essential Version + บังคับซื้อ Subscription ซึ่งมี limit ใช้งานได้ไม่เกิน 3 Physical Server แต่ละ Server มี CPU ไม่เกิน 2 Socket CPU หากต้องการใช้ Feature พวก Vmotion (Live Migration) ก็จะต้องเปลี่ยน License เป็นตัว Essential Plus (ราคา Lic ไปหลักแสนแล้ว) หากจะใช้เกิน 3 Server ก็ต้องขยับไปซื้อตัว License ที่เป็น Standard version + Vcenter เพิ่มอีกเพื่อบริหารจัดการ Cluster ของ Vmware หากจะทำ Hyper-Converged Infrastructure (HCI) ก็ต้องซื้อ VMWare vSAN เพิ่มเติมอีก โดย License ส่วนนี้คิดแบบนับตามจำนวน Socket CPU ที่มีทั้งหมดของเครื่อง Server ในระบบ + Subscription ฟีเจอร์ที่ได้ก็ตาม level ที่ซื้อ standard, enterprise ตรงนี้ยังไม่รวมค่า Implement ระบบอีกด้วย

ในภาพรวมหลัก ๆ ที่ต้องจ่ายก็จะมี

  1. ค่า Hardware
  2. Software License and Subscription
  3. ค่า Implement

สำหรับองค์กรที่ต้องการมีระบบ Virtualization ถ้าดูภาพรวมและราคาแล้ว ในราคา Hardware และค่า Implement ถ้าคิดที่ราคาเดียวกัน ในเบื้องต้นถ้าเริ่มต้นราคาที่เครื่องเดียวอาจจะไม่รู้สึกเรื่องราคาแตกต่างกันเท่าไหร่ เพราะตัว Vsphere สามารถใช้ฟรีได้อยู่ feature ที่ได้ยังพอเพียง แต่พอจะใช้ VM มากขึ้นก็จะติดปัญหา Memory ใช้ได้ไม่เกิน 32 GB หรือพอจะขยายระบบขยายมากกว่านั้น ต้องการ Vcenter เพื่อจัดการรวมศูนย์การบริหาร Vsphere ก็ต้องจ่ายซื้อ Lic Essential Version แต่ก็ขยายได้เต็มที่ก็แค่ 3 เครื่อง อยากได้ vMotion ย้าย VM ไปมาระหว่างเครื่อง ทำ HA VM ก็ต้อง upgrade ไป Essential Plus ต้องมี Storage กลาง ไม่ก็จ่าย License vSAN หากจะขยายโหนดออกไปมากกว่านี้ ต้องเปลี่ยน License Vspere เป็น Standard version ทั้งชุด ซึ่งนั่นก็หมายความว่าโละ Lic Essential ที่ซื้อมาทั้งชุด ซึ่งพอถึงจุดนี้บางองค์กรอาจจะเริ่มชะงักกับตัวเลขราคาที่ต้องจ่ายสำหรับค่า License และ Subscription ละ

แต่ก็ยังดีที่มี Open Source ที่ทำระบบ Virtualization และ HCI สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่า License นั่นก็คือ Proxmox VE นั่นเอง Proxmox เป็น ระบบ Virtualization ที่สร้างขึ้นมาจากโครงการ Open Source ต่าง ๆ นำมาปรับแต่งทำงานร่วมกันเช่น Debian Ceph Corsync Pacemaker LXC KVM และพัฒนา Tools และ เครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาครอบเพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบบ Virtualize ได้ง่าย ๆ โดยผู้พัฒนา Proxmox นั้นได้เปิดเป็น Open Source ด้วย
นั่นหมายความว่าเราสามารถนำมาใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่า License ซึ่งผู้พัฒนา Proxmox นั้นหารายได้โดยการขาย Subscription support ลูกค้าแทน (ทางฝั่ง Vmware ก็ขาย Subscription support ลูกค้าเหมือนกัน)

proxmox มี Feature หลัก ๆ ที่สามารถทำงานเทียบเคียงได้กับ VMWare ได้ มี WebGUI สามารถบริหารจัดการเครื่องหลาย ๆ เครื่องผ่านหน้า Web Browser เดียวได้ (Vcenter) สามารถทำ Hyper-Converged Infrastructure โดยใช้ Ceph มาทำ Shared Storage ได้ (vSAN) สามารถทำ Live Migration ระหว่า Host ได้โดยไม่มี Downtime (Vmotion)

สรุปมาเป็นตารงเปรียบเทียบได้ดังนี้

ในเมืองไทยก็เริ่มมีผู้นิยมใช้งาน Proxmox กันมากขึ้น เริ่มมีกลุ่มผู้ใช้งานตั้งขึ้นใน facebook เช่นกลุ่ม Proxmox thailand , Proxmox Thai Club

Proxmox Thailand
Proxmox Thai club

มี Training และ Implement หากไม่อยากเสียเวลางมหรือต้องการคนติดตั้งและ Support ระบบ
https://www.clusterkit.co.th/training-courses/advanced-proxmox-cluster-management/

--

--